Archive | ประเพณีและวัฒนธรรมภาคกลาง RSS feed for this section

ประเพณีและวัฒนธรรมภาคกลาง

24 ก.พ.

ประเพณีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีสู่ขวัญข้าว

ช่วงเวลา
ประเพณีสู่ขวัญข้าว (ทั่วไป) บุญสู่ขวัญข้าว (หมู่บ้านเนินใหม่ ตำบลโคกกรวด) เรียกขวัญข้าว (หมู่บ้านท่าด่าน) กระทำในวันขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๓

ความสำคัญ
เพื่อเรียกขวัญพระแม่โพสพที่ตกหล่นตามท้องนาขึ้นสู่ยุ้งฉาง บูชาพระแม่โพสพ ป้องกันศัตรูพืชและสัตว์ทำลาย เพื่อให้ได้ผลผลิตมากในปีต่อไป

พิธีกรรม
โดยทั่วไปชาวนาต่างก็ทำพิธีโดยให้เจ้าของนาฝ่ายหญิงนุ่งขาว ห่มขาวเป็นผู้ทำพิธีตอนเช้าตรู่โดยเตรียมอุปกรณ์ ได้แก่ ข้าวต้ม เผือก มัน ไข่ ขันธ์ ๕ ขวดน้ำ แก้วแหวนเงินทอง แป้ง หวี กระจก ผ้าสไบ (อาจมีเพิ่มเติมหรือแตกต่างตามท้องถิ่น) นำสิ่งของเหล่านี้ห่อด้วยผ้าขาว ใส่กระบุงหรือบางท้องที่ปิดกระบุงด้วยผ้าขาว นำขอฉายคอนกระบุง (บางหมู่บ้านใช้ผ้าสีผูกให้สวยงาม) เดินไปตามท้องนา เจตนาของตน ร้องเรียกแม่โพสพ ใจความคือเชิญแม่โพสพที่ตกหล่นอยู่ให้มาอยู่ในยุ้ง ฉาง บางหมู่บ้าน เพื่อนบ้านขานรับจนถึงบ้าน นำกระบุงไปไว้ในยุ้งข้าว บางหมู่บ้านมีพราหมณ์ทำพิธีเรียกขวัญเข้ายุ้ง โดยมีการตั้งบายศรี และเครื่องไหว้ในยุ้ง การสู่ขวัญด้วยสำนวนหรือภาษาถิ่นที่แตกต่างกันออกไป
ในปัจจุบันประเพณีสู่ขวัญข้าวยังคงกระทำอยู่ในหมู่บ้านทั้งสี่อำเภอ เช่น หมู่บ้านหนองโพธิ์ ตำบลศรีนาวา สู่ขวัญข้าวร่วมกันและทำบุญเลี้ยงพระด้วย

สาระ
เพื่อเป็นการบำรุงขวัญและความเชื่อของชาวนา รวมถึงการแสดงความกตัญญูต่อพระแม่โพสพ เพื่อบันดาลให้ข้าวในปีหน้าได้ผลผลิตดียิ่งขึ้น

 

ประเพณีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีสู่ขวัญข้าว

 

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

ประเพณีวิ่งควาย

ช่วงเวลา

ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำเดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ๑ วัน ของทุกปี

ความสำคัญ
ประเพณีวิ่งควาย เป็นประเพณีเกี่ยวกับอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งตกทอดมาจากบรรพบุรุษจนถึงปัจจุบัน จุดมุ่งหมายเพื่อให้ชาวบ้านได้เตรียมของไปถวายวัด ปัจจัยไทยธรรมได้พักผ่อนและได้สังสรรค์กันระหว่างชาวบ้านซึ่งเหนื่อยจากงานและให้ควายได้พักเนื่องจากต้องตรากตรำในการทำนา ปัจจุบันประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีของจังหวัดชลบุรี โด่งดังเป็นที่รู้จักของชาวไทยและต่างประเทศ

พิธีกรรม
ประเพณีวิ่งควาย จะจัดในช่วงเช้า เพื่อให้ควายได้พักจากการไถนา ชาวไร่ชาวนาจะนำควายมาประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ชาวไร่ชาวนาที่มาด้วย ก็ขี่ควายเดินไปตามตลาดและวิ่งอวดประกวดกันเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันนำควายมาประกวดความสมบูรณ์และประลองฝีมือโดยจัดให้มีการแข่งขันวิ่งควาย

สาระ
แสดงถึงความสามัคคีของชาวไร่ชาวนาได้มีโอกาสพบปะกัน และแสดงเมตตาต่อผู้มีบุญคุณ คือควายเพื่อให้ควายได้พักผ่อน ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ ก่อนออกพรรษา ซึ่งเป็นวันใกล้สิ้นฤดูฝนจะย่างเข้าฤดูหนาว ประเพณีวิ่งควายเป็นประเพณีที่จัดเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เหตุที่เลือกเอาวันนี้เพราะเป็นวันพระ ชาวไร่ชาวนาเอาควายมาเทียมเกวียนบรรทุกกล้วย มะพร้าว ใบตอง ยอดมะพร้าว มาขายเพื่อคนในเมืองจะได้ซื้อไปห่อข้าวต้มหาง ทำบุญตักบาตร วันเทโวโรหนะ วันออกพรรษาขากลับจะได้มีโอกาสซื้อของไปทำบุญเลี้ยงพระตามวัดวาอารามใกล้เคียงในวันพระ และวันออกพรรษา ประเพณีวิ่งควาย ปัจจุบันในเขตเทศบาลเมืองชลบุรี จัดขึ้นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๑๑ อำเภอบ้านบึงจัดวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ตลาดหนองเขิน ตำบลหนองชาก อำเภอบ้านบึง จัดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ วัดกลางดอน ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี จัดวิ่งควายในการทอดกฐินประจำปีของวัด

ประเพณีวิ่งควาย

 

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ช่วงเวลา

กลางเดือน ๙ ของทุกปี

ความสำคัญ
การตักบาตรน้ำผึ้ง เป็นประเพณีการถวายน้ำผึ้งแก่ภิกษุและสามเณร ของชาวรามัญที่วัดพิมพาวาส อำเภอบางปะกง สืบเนื่องมาจากความเชื่อว่าในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าเสด็จประทับที่ป่าเลไลย์ มีช้างและลิงคอยอุปัฏฐากโดยการนำเอาอ้อยและน้ำผึ้งคอยถวาย ต่อมาจึงทรงมีพุทธานุญาตให้ภิกษุสามเณรรับน้ำผึ้งและน้ำอ้อยมาบริโภคเป็นยาได้

พิธีกรรม
การตักบาตรน้ำผึ้งมักจัดกันที่ศาลาวัด ขณะที่พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์นั้น ชาวบ้านจะนำน้ำผึ้งมาใส่บาตร และนำน้ำตาลใส่ในจานที่วางคู่กับบาตร ส่วนอาหารคาวหวานจะใส่ในภาชนะที่วางแยกไว้อีกด้านหนึ่ง อาหารพิเศษที่นำมาใส่บาตร ได้แก่ ข้าวต้มมัด ถวายเพื่อให้พระฉันจิ้มกับน้ำผึ้งหรือน้ำตาล

สาระ
การตักบาตรน้ำผึ้งเป็นกิจกรรมที่น้อมนำให้ระลึกถึงองค์ผู้มีพระภาคเจ้าที่มีความเกี่ยวข้องกับสัตว์เดียรัจฉาน สัตว์ยังรู้คุณค่าของศาสนาด้วยการเสาะแสวงหาภิกษาหารนำมาถวายพุทธองค์เพื่อได้สดับตรับฟังธรรม พุทธศาสนิกชนจึงนำรูปแบบของการนำปัจจัยมาถวายเพื่อจุดหมายการได้ฟังธรรมเทศนาเช่นกัน

 

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง

 

 

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ช่วงเวลา

ประเพณีกวนข้าวทิพย์ เป็นพระราชพิธีกระทำในเดือน ๑๐ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานี ในปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะจัดในเดือน ๑๒ บางแห่งจะจัดในเดือน ๑ ซึ่งเป็นช่วงที่ข้าวกล้าในท้องนามีรวงข้าว และเครื่องกวนข้าวทิพย์ประกอบด้วยถั่ว นม น้ำตาล น้ำผึ้ง น้ำอ้อย งา เนย น้ำกะทิ และนมที่คั้นจากรวงข้าว
ความสำคัญ
ประเพณีกวนข้าวทิพย์เป็นพิธีกรรมของศาสนาพราหมณ์ ที่สอดแทรกในพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ บูชาพระรัตนตรัย และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย
จังหวัดสิงห์บุรียังคงรักษาประเพณีกวนข้าวทิพย์ โดยมีเหลืออยู่เพียง ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านพัฒนาโภคาภิวัฒน์ หมู่บ้านวัดกุฎีทอง และหมู่บ้านในอำเภอพรหมบุรี ซึ่งยัง คงรักษาประเพณี และมีความเชื่อถืออย่างมั่นคง เป็นแบบอย่างที่ดี แฝงด้วยจริยธรรมและคติธรรมอยู่มาก และมีความพร้อมเพรียงของชาวบ้านที่ทำนา โดยเมื่อถึงเวลาจะมาร่วมกันกวนข้าวทิพย์

พิธีกรรม
การจัดพิธีกรรม ยังคงรักษาแบบเดิมไว้ โดยมีพราหมณ์ทำพิธี และมีสาวพรหมจารีซึ่งจะพิถีพิถันคัดเลือกจากหญิงสาวที่ยังไม่มีระดู ด้วยต้องการบริสุทธิ์สำหรับสาวพรหมจารีที่จะเข้าร่วมพิธี ต้องสมาทานศีล ๘ และต้องถือปฏิบัติตามองค์ศีลอย่างมั่นคง

สาระ
ข้าวทิพย์เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ป้องกันโรค

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

 

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์

ประเพณีกวนข้าวทิพย์